โครงการน้ำหมักชีวภาพจากเศษผลไม้ และผักภายในชุมชน
(การถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน)
1.ขั้นตอนการดำเนินการทำน้ำหมักชีวภาพ
1.1 การประชุมวางแผนการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2563 ซึ่งมีการประชุมที่ บ้านสายโท 7 บ้านจัทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้มีการจัดการวางแผนดำเนินการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้
1.1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ สถานที่ อุปกรณ์ อย่างชัดเจน
1.1.2 ใช้การทำงานร่วมกันช่วยกันในการดำเนินงาน ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน
1.1.3 การวางแผนรายบุคคลภายในกลุ่ม โดยมีการแบ่งหน้าที่แต่ละคนอย่างชัดเจน (วางตัวบุคคล)
1.1.4 การลงมือปฏิบัติ และทำการทดลองโดยใช้ระยะเวลา 3-4 สัปดาห์
1.1.5 สรุปผล และเผยแผร่สู่ชุมชน
1.2 การจัดหาอุปกรณ์ ชึ่งได้จัดหาโดยขั้นตอน คือ
1.2.1 การลงพื้นที่สำรวจชุมชน (ผลไม้ และผัก)
– สอบถามสมาชิกในชุมชน
– สังเหตุ / สำรวจชุมชน
1.2.2 เตรียมอุปกรณ์ที่หาได้ในชุมชนที่มีราคาถูก และมีคุณภาพ
1.2.3 เช็คความพร้อมก่อนลงมือทำทุกครั้ง
2. ขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ ประสิทธิภาพ
การดำเนินการในเดือนกรกฎาคม ได้มีการประชุมกันภายในกลุ่มย่อย(กลุ่มน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้)เพื่อคิดค้นและทดลองสูตรน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ โดยได้เริ่มเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในวันที่3 กรกฎาคม 2563 เริ่มทดลองสูตรดังนี้
สูตรน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ (สำหรับถังหมัก 15 ลิตร)
- ฟักทอง (1 ผล) 800 กรัม
- ปลีกล้วย (1 ปลี) 1000 กรัม
- สับปะรด (2 ผล) 700 กรัม
- มะเฟือง (5 ผล) 500 กรัม
- แก้วมังกร (2 ผล) 500 กรัม
- น้ำตาล 500 กรัม
- น้ำ 11 ลิตร
วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้
- สับผลไม้เป็นชิ้นๆ ไม่เล็กมาก (ไม่ต้องปอกเปลือก)
- เอาผลไม้ที่สับเสร็จแล้วลงในถังหมักที่ได้เตรียมไว้
- เติมน้ำตาลและเติมน้ำเปล่าตามลงไป จากนั้นกวนทุกอย่างให้เข้ากันเพื่อให้น้ำตาลละลายปิดฝาถัง
- ใช้เวลาหมัก 1 เดือน โดยเปิดกวนสัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันและไล่แก๊สออก
- หมักจนครบ 1 เดือนแล้วกรองเอากากออกด้วยตะแกรง จากนั้นกรอกน้ำหมักผลไม้ที่ได้ใส่ขวดหรือแกนลอนปิดฝาให้มิดชิดสามารถนำไปใช้ได้เลย
วิธีการใช้น้ำหมักผลไม้ (สูตรทดลอง)
เนื่องจากน้ำหมักผลไม้มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งการนำมาใช้กับพืชควรมีการเจือจางน้ำในอัตราส่วน 1:1000 หรือ 1:500 ก่อนนำไปใช้
ฉีดพ่นทางดิน
- อัตราส่วน 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ; รดราดทางดินหรือพ่นลงในแปลงก่อนไถกลบ การขังน้ำในนาเพื่อให้ตอซังข้าวเร่งการย่อยสลาย
- 10 ลิตร ต่อ 1 ไร่ ; ผสมกับน้ำที่อยู่ในนา เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีลงไปในดินและทำให้ดินร่วนซุย
- 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ; รดราดโคนต้นพืชที่โตแล้ว เช่น มะม่วง มะละกอ กล้วย ทุเรียน ฯ
ฉีดพ่นทางใบ
อัตราส่วน 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ; พ่นทางใบพืชได้ทุกชนิด โดยให้ใช้ทุก ๆ 5-7 วัน และสามารถใช้ผสมไปกับปุ๋ยน้ำตัวอื่นหรือเชื้อราชีวภาพกำจัดศัตรูพืชกำจัดหนอนเพลี้ยได้
การใช้ทางน้ำ
1 ลิตร ใส่ในบ่อเลี้ยงสัตน์น้ำ เช่น กถ้ง หอย ปู ปลา กบ ฯลฯ ขนาด 10 ลูกบาศก์เมตร ทุก 7-10 วัน จะช่วยให้น้ำไม่เน่าเสียง่าย สัตว์จะไม่เป็นแผล ไม่ต้องถ่ายน้ำบ่อย ช่วยลดกลิ่นได้
3. การถ่ายทอดความรู้ความรู้สู่ชุมชน
3.1 ประสานงานผ่านผู้นำหมู่บ้าน ให้ผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมถ่ายทอดความรู้
3.2 อธิบายขั้นตอนการทำ/ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาให้ดู / ผลที่ได้จากการใช้ (ศึกษามาแล้ว)
3.3 แลกเปลี่ยนความรู้กับคนในชุมชน และสรุปผล
4. ผลการดำเนินงานถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
– ระยะเวลาในการจัดทำโครงการ 4 เดือนเริ่มจากวันเดิน มิถุนายน – กันยายน
– คนในชุมชนให้ความร่วมมือกัน ทุกคน และเต็มที่รวมถึงผู้นำชุมชน
– การถ่ายทอดความรู้ทำให้คนในชุมชนเข้าใจง่ายและรู้ถึงวิธีการอย่างละเอียด
– สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช่ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ และพื้นที่นั้นๆ ได้